QR Code MTC

การชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

การชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ในการชำระหนี้คนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระหนี้เงินกู้คนกองทุน พ.ศ. 2542 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2546 ดังนี้

1. ผู้กู้ยืมที่มีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมคนกองทุน

1.1 เป็นผู้กู้ยืมที่สำเร็จการศึกษาหรือเลกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี (นับจากปีที่จบการศึกษา)

1.2 เป็นผู้กู้ยืมที่พ้นสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี (นับจากปีที่พ้นสภาพ)

(กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่กู้ต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ปี และไม่แจ้งสถานภาพให้ธนาคารผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทราบ จะถือวาเป็นผู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้คนกองทุน)

2. หลักเกณฑ์การชำระหนี้

2.1 ผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ในปีแรกจะต้องชำระเงินตนร้อยละ 1.5 ต่อปี ของวงเงินที่กู้ยืมเงิน

2.2 ผู้กู้ยืมสามารถเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนก็เบี้ย โดยมีระยะเวลาชำระตั้งแต่ 1 ปี เป็นต้นไปแต่ไม่เกิน 15 ปี

2.3 ให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ก่อนวนครบกำหนดชำระหนี้วันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีนับจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และในการชำระหนี้คนงวดแรกกำหนดให้ผู้กู้ยืมชำระเฉพาะเงินตนไม่ต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องชำระภายในวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (5 กรกฎาคมของทุกปี) แต่หากผู้กู้ผิดนัดโดยชำระหนี้ภายหลงวันที่ 5 กรกฎาคม จะต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของเงินตนที่ต้องชำระในงวดนั้น กรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน และหากค้างชำระเกิน 12 เดือนเสียปรับร้อยละ 18 ต่อปีของเงินตนในงวดที่ค้างชำระทั้งหมด

2.4 หากผู้กู้ยืมชำระหนี้คนก่อนกำหนดทั้งจำนวนหรือบางส่วน โดยชำระในช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้ยืมไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

3. วิธีนับระยะเวลาการครบกำหนดชำระหนี้ของผู้ที่จบการศึกษา

ดังอย่าง

ผู้กู้ยืมที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2553 มีระยะเวลาปลดหนี้ 2 ปี โดยผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้คืนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2556

การเบิกจ่ายเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน ในระดับอนุบาลถึงระดับอนุปริญญา
1. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในสถานศึกษาของทางราชการที่จะนำมาเบิกได้ต้องเป็นเงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ ทั้งนี้ ไม่ร่วมเงินบริจาค เนื่องจากเงินบริจาคเป็นอำนาจของหัวหน้าสถานศึกษา ในการดำเนินการและเป็นไปโดยบริจาคสมัครใจ อย่างไรก็ดี กรณีมีข้อสงสัย ขอให้ประสานกับสถานศึกษานั้นโดยตรง
2. ปีการศึกษา หมายถึง ปีการศึกษาที่กำหนดโดยหน่วยงานเจ้าสังกัดของสถานศึกษานั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ปีการศึกษาเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ดังนั้น โรงเรียนที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็จะเริ่มปีการศึกษาตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม เป็นต้น หากมีข้อสงสัยว่าปีการศึกษานั้นจะเริ่มต้นและสิ้นสุดในวันใด ให้ประสานกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดของสถานศึกษานั้นโดยตรง
3. การยื่นขอเบิกเงิน ให้ผู้มีสิทธิยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนของแต่ละภาคสำหรับสถานศึกษาที่เรียกเก็บเงินค่าการศึกษาเป็นรายภาคเรียน หรือวันเปิดเรียนภาคต้นของปีการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่เรียกเก็บเงินค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี แล้วแต่กรณี เช่น โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 11 ตุลาคม และภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 1 เมษายน ใบเสร็จของภาคเรียนที่ 1/2549 จะสามารถนำมาเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 สำหรับใบเสร็จของภาคเรียนที่ 2/2549 จะสามารถนำมาเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 หากพ้นกำหนดเวลานี้แล้วให้ถือว่า ผู้มีสิทธิหมดสิทธิในการขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
4. กรณีบุตรได้รับทุนการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะทุนให้เปล่า โดยผู้รับทุนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการศึกษา ผู้มีสิทธิไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถานศึกษามาขอเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการ เว้นแต่ ทุนการศึกษาดังกล่าวที่ได้รับน้อยกว่าค่าการศึกษาของบุตร ผู้มีสิทธิสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มมาเบิกจากทางราชการได้ไม่เกินอัตรากระทรวงการคลังที่กำหนด เช่น สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระดับอนุปริญญา ปีการศึกษาละ 25,000 บาท แต่บุตรได้รับทุนการศึกษาปีการศึกษาละ 10,000 บาท ผู้มีสิทธิต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 15,000 บาท กรณีนี้ผู้มีสิทธิสามารถเบิกเงินค่าการศึกษาของบุตรจากทางราชการในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มได้จำนวน 11,000 บาท (อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดคือระดับอนุปริญญาเบิกได้ 11,000 บาท)
5. กรณีกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) อยู่ในข่ายที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตร เนื่องจากต้องชำระเงินคืนให้กับกองทุนฯ หลังจบการศึกษาแล้ว

 
 

ผู้อำนวยการ


นายปริญญา สมมิตร
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค
มหาสารคาม

รองผู้อำนวยการ

ลิงค์ที่น่าสนใจ









ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยสำหรับใช้ในราการ








สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
สภาอุตสาหกรรม จังหวัดมหาสารคาม
ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไทย
ทำเนียบนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ
นว้ตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
คลิกที่นี้แล้วมีงานทำ
thai