<<This message will be removed when you register >>


วิชา 2000-1101 ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1


1. ข้อใดใช้ลักษณะนามถูกต้อง

a) เรยาซื้อนกหวีด จำนวน 1 อัน
b) สรยุทธอ่านข่าวการเมือง 3 เรื่อง
c) รัฐบาลอนุมัติสร้างถนน 3 เส้นทาง
d) อยุธยามีแม่น้ำไหลผ่านหลายเส้น
e) บุญชูซือฆ้อนมา 1 อัน
2. ข้อใดมีคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย


a) ในวันวาเลนไทน์
b) วัยรุ่นไทยจำนวนมาก
c) นิยมซื้อดอกกุหลาบ
d) มอบให้คนรักเป็นของกำนัล
e) ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี
3. ในขณะที่พระมหาสมปองบรรยายธรรมในห้องประชุมของวิทยาลัย หนูดีควรปฏิบัติตนอย่างไร

a) เมื่อสงสัยให้ถามทันที
b) คุยโทรศัพท์เบา ๆ กับคุณแม่
c) .ทำการบ้านที่ยังไม่เสร็จอย่างเงียบ ๆ
d) บันทึกสรุปสาระสำคัญขณะฟัง
e) เลือกฟังเฉพาะประเด็นสำคัญ
4. ข้อใดคือมารยาทที่เป็นสากลอย่างหนึ่งในการสื่อสาร

a) สมชายคำนับสมศักดิ์ก่อนพูด
b) สมบูรณ์ทักทายเพื่อนเก่าอย่างเป็นกันเอง
c) สมเกียรติลุกขึ้นยืนต้อนรับสมหมาย
d) สมใจกล่าวคำสวัสดีทักทายผู้ฟัง
e) สมศรีไม่ตะโกนพูดกับสมปอง
5. การพูดในชีวิตประจำวันข้อใด ใช้ถ้อยคำเหมาะสมกับบุคคล กาละเทศะ และโอกาส

a) ขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่ คาดอยู่แล้วว่าคุณจะต้องได้ฝีมือเห็น ๆ กันอยู่
b) อาจารย์ครับ นี่ศักดิ์ชายเพื่อนผม เป็นนักฟุตบอลของวิทยาลัย
c) สงกรานต์นี้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองคุณลุง คุณป้าให้มีสุขภาพแข็งแรง
d) ยินดีด้วยนะ คนเก่งก็อย่างนี้แหละ โชคดีเสมอ
e) ในที่สุดก็เป็นไปตามที่คาดหมาย ยินดีด้วยนะ
6. ข้อใดใช้คำเหมาะสมกับสถานการณ์

a) บัดนี้ท่านประธานมาพร้อมแล้ว ผมอยากจะเปิดการแข่งขันกีฬาสี
b) ครูขอขอบคุณน้ำใจอันดีงามของนักเรียน
c) พวกเราขอแสดงความยินดีในความสำเร็จของเธอที่อุตส่าห์สอบชิงทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศได้
d) ครูขอแสดงความเสียใจที่พี่ชายของเธอประสบอุบัติเหตุจนต้องเสียชีวิต
e) เมื่อมาครบแล้ว ผมขอเปิดประชุม
7. ข้อใดไม่ได้กล่าวในคำประพันธ์

a) น้ำท่วมปาก
b) พูดดีเป็นศรีแก่ตัว
c) ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
d) .หนังสือคือคลังแห่งปัญญา
e) ปัญญาดุจดังอาวุธ
8. บทร้อยกรองดังกล่าวเป็นคำประพันธ์เหมือนข้อใด

a) ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
b) มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
c) สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
d) รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว
e) มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
9. ข้อความนี้มีชื่อเรื่องว่าอะไร


a) สับปะรดเป็นเหตุ
b) อบรมครูภาษาไทย
c) แม่ค้าสุพรรณ
d) ผู้ดีชาวกรุง
e) สุภาพเกินเหตุ
10. ข้อความนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ภาษาแบบใด

a) ต้องการสื่อสารด้วยคำง่าย ๆ และชัดเจน
b) เจตนายกระดับผู้พูดให้เห็นว่าเป็นผู้มีฐานะดี
c) เจตนาพูดสุภาพแต่ใช้คำไม่ถูกต้อง
d) ต้องการสื่อสารด้วยคำไพเราะอย่างถูกต้อง
e) ต้องการใช้คำระดับสูง
11. คำในข้อใดมีจำนวนพยางค์มากที่สุด


a) ปูผัดผงกะหรี่
b) สุนทรียลักษณ์
c) สำเนาทะเบียนบ้าน
d) ปูผัดผงโสเภณี
e) สุพรรณบุรี
12. ข้อใดหมายถึง อดทนต่อความยากลำบาก

a) กินแกลบกินรำ
b) กินกะปิกินเกลือ
c) กินลมกินแล้ง
d) กินเหล็กกินปูน
e) กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
13. อาชีพใดที่ต้องใช้ความสามารถทางการสื่อสารเป็นพิเศษ


a) นักบัญชี
b) วิศวกร
c) นักจัดรายการวิทยุ
d) นักวิชาการ
e) นักวิทยาศาสตร์
14. คนไทยบางคนโอบอ้อมอารี คนโอบอ้อมอารีบางคนซื่อสัตย์ นาย ก เป็นคนซื่อสัตย์ ดังนั้น


a) นาย ก โอบอ้อมอารี
b) . นาย ก เป็นคนไทย
c) นาย ก เป็นคนไทยที่โอบอ้อมอารี
d) นาย ก เป็นคนไทยที่โอบอ้อมอารีและซื่อสัตย
e) สรุปไม่ได้
15. พิจารณาเหตุการณ์ และลำดับเหตุการณ์
1) ปิดไฟ 2)ใส่กลอน 3) เข้ามุ้งนอน
4) คิดถึงใบหน้า 5) นั่งเขียนจดหมาย


a) 4-5-2-1-3
b) 4-5-1-2-3
c) 1-2-3-4-5
d) 5-4-3-2-1
e) 3-2-1-4-5
16. ข้อใดคือจดหมายธุรกิจ


a) จันทนีเขียนจดหมายถึงรำไพเพื่อนัดทำรายงาน
b) ผู้อำนวยการทำบันทึกสั่งงานถึงครูภาษาไทย
c) ดาวเขียนจดหมายสมัครงานถึงบริษัทขายปุ๋ย
d) ครูปิงเขียนจดหมายสั่งซื้อหนังสือภาษาไทย
e) ครูลิลลี่เขียนจดหมายแสดงความยินดีกับสายสุรีที่สอบได้
17. ข้อใดถูกต้อง


a) ชมพู่เขียนถึงผู้อำนวยการ ใช้คำลงท้าย “ด้วยความเคารพและนับถือ”
b) เดือนเขียนถึงพระมหาวุฒิชัย ใช้คำลงท้าย “นมัสการด้วยความเคารพ”
c) สวนิตเขียนถึงผู้จัดการบริษัท ใช้คำลงท้าย “ด้วยความเคารพอย่างยิง”
d) นักเรียนเขียนใบลาถึงครู ใช้คำลงท้าย “ขอแสดงความนับถืออย่างสูง”
e) ครูเขียนถึงนายกรัฐมนตรี ใช้คำลงท้าย"ขอแสดงความนับถือ”
18. การกรอกแบบฟอร์มใดต้องระมัดระวังมากที่สุด


a) ใบสมัครงาน
b) แบบสอบถาม
c) สัญญาซื้อขาย
d) ใบอนุญาตใช้รถ
e) คำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
19. ข้อใดมีคำสะกดผิด


a) ลุงจำลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกสับปะรด
b) ก่อนออกจากห้องเรียน นักเรียนควรปิดสวิตซ์ไฟ และถอดปลั๊ก
c) วันนี้เราจะสั่งข้าวผัดกะเพรา และกล้วยบวชชี
d) มาลัยซื้อก๋วยเตี๊ยวผัดไทยมาฝากเพื่อน
e) มาลีเปิดเว็บไซต์หาคลินิคศัลยกรรมที่มีมาตราฐานให้ผมหน่อย
20. .“การเกิดสึนามิในภาคใต้ของประเทศไทยครั้งนั้น ผู้คนพากันตื่นตัวกลัวมาก ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ของเรา”
ข้อความข้างต้นนี้มีข้อสรุปตรงกับลักษณะในข้อใด


a) คาดคะเน
b) คำวิงวอน
c) ข้อสังเกต
d) ข้อคิด
e) ข้อสรุป
21. อุบลราชธานีเป็น.................ของคุณลีลาวดี เธอเป็นคนมี............มั่นคงคนหนึ่งทีเดียว แต่งกายดู..........เสมอ เพราะ.....................เหยียบขั้นเศรษฐี


a) พื้นฐาน , ถิ่นฐาน , ภูมิฐาน , ฐานะ
b) ถิ่นฐาน , ฐานะ , ภูมิฐาน , พื้นฐาน
c) พื้นฐาน , ถิ่นฐาน , ภูมิฐาน , หลักฐาน
d) ถิ่นฐาน , หลักฐาน , ภูมิฐาน , ฐานะ
e) ถิ่นฐาน, ฐานะ ,ภูมิฐาน, หลักฐาน
22. ประกาศนี้ขาดข้อมูลใด
รับสมัครช่างเทคนิคชาย
อายุไม่เกิน 28 ปี จบ ปวช.
สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์
มีประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปี
ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว



a) คุณวุฒิ
b) คุณสมบัติ
c) สถานที่ติดต่อ
d) ตำแหน่งงาน
e) การศึกษา
23. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ

a) เขากินอาหารมังสวิรัติทุกวันพุธมาสามปีแล้ว
b) ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา
c) คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากำเหน็ดด้วย
d) เพื่อนเห็นเขานั่งหลับจึงถามว่าเข้าญาณถึงชั้นไหนแล้ว
e) ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ
24. สารสำคัญของโคลงบทนี้คืออะไร
ฝูงคนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ฤาไหว


a) ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน
b) จิตสำนึกและความประพฤติยากที่จะแก้ไข
c) การศึกษามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต
d) แม้จะมีกำเนิดต่างกันแต่การศึกษาช่วยให้เท่าเทียมกัน
e) คนชั่วมีความอ่อนแอแก้ไขยาก
25. ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 25 - 27
เงินทองที่จะใช้สอยในค่ากินอยู่ นุ่งห่มหรือใช้สอยเบ็ดเตล็ดเสร็จ
ทั้งปวงจงเขม็ดแขม่ใช้แต่เพียงพอที่จะอนุญาตให้ใช้ อย่าทำใจโตมือสุรุ่ยสุร่ายโดยถือว่าตัวเป็นเจ้านายมั่งมีมาก หรือถือว่าพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินมีเงินทองถมไป

ข้อความดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

a) ห้าม
b) สั่งสอน
c) ตักเตือน
d) ชี้แจง
e) บอกกล่าว
26. ข้อใดมีความหมายตรงกับลักษณะไม่พึงประสงค์ที่กล่าวไว้ในข้อความนี้มากที่สุด

a) เจ้ายศเจ้าอย่าง
b) สำมะเลเทเมา
c) กินล้างกินผลาญ
d) อีลุ่ยฉุยแฉก
e) ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
27. ความสำคัญของข้อความที่ยกมาคืออะไร

a) การรู้จักใช้จ่าย
b) การไว้ยศว่าเป็นเจ้า
c) การระวังตนให้อยู่ในโอวาท
d) การเรียนรู้ที่จะช่วยตนเอง
e) การแต่งกายให้เหมาะสม
28. อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 28 - 29
“การทำอาหารวันนี้ เริ่มต้นต้มน้ำซุปให้เดือด ใส่ฟักเขียวหั่นเป็นชิ้นๆ ลงไปต้มพอสุก เติมเกลือลงไปเล็กน้อยเพื่อเก็บความเขียวของฟักไว้ ฟักเขียวแก้ร้อนในและช่วยระบายอ่อนๆ สังเกตเวลาฟักเขียวสุก ใช้ส้อมจิ้มดู ถ้าจิ้มลงไปได้ก็เป็นอันใช้ได้ แต่ถ้าฟักสุกมากไป น้ำก็จะไม่อร่อย จากนั้นใส่สมุนไพรที่โขลกรวมกันไว้ลงไป คนให้เข้ากัน สมุนไพรไทยเราล้วนๆ เวลาที่รับประทานฟักเขียวทุกๆ คำ ก็จะมีสมุนไพรพร้อมกันไป”

ข้อใดคือผังความคิดของข้อความเบื้องต้น



a) ใส่ฟักเขียว - เติมเกลือ - ส้อมจิ้มดูความสุก - ใส่สมุนไพร
b) ใส่ฟักเขียว - ต้มน้ำซุป - เติมเกลือ - ใส่สมุนไพร
c) ต้มน้ำซุป - ใส่ฟักเขียว - เติมเกลือ - ใส่สมุนไพร
d) ต้มน้ำซุป - เติมเกลือ - ส้อมจิ้มดูความสุก - ใส่สมุนไพร
e) ใส่สมุนไพร-ต้มน้ำซุป-เติมเกลือ-ส้อมจิ้มดูความสุก
29. ข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนต้องการนำเสนอข้อมูลในเรื่องใด


a) ประโยชน์ของฟักเขียว
b) ขั้นตอนการปรุงอาหาร
c) ข้อดีของสมุนไพร
d) วิธีรักษาสุขภาพ
e) เคล็ดลับการต้มซุป
30. ณัฐพลกล่าวกับวันชาติว่า “เวลาเช้าถ้าผมตื่นสาย แดดจะส่องเข้าทางหน้าต่างหัวนอน ถ้าใครมาห้องนอนผม จะต้องขึ้นบันไดหลายชั้นทีเดียว” จากคำกล่าวนี้สรุปได้ว่า


a) ห้องนอนของณัฐพลอยู่ชั้นบนสุดของบ้าน และเขามักจะตื่นสาย
b) ห้องนอนของณัฐพลอยู่ทางซีกตะวันออกของบ้าน และมีบันไดหน้าห้อง
c) ห้องนอนของณัฐพลอยู่บนชั้นสาม และมีหน้าต่างทางหัวนอน
d) ห้องนอนของณัฐพลหันไปทางตะวันออก และไม่ได้อยู่ชั้นล่าง
e) สรุปไม่ได้
31. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ และตอบคำถามข้อ 31-36

“....ภาษาไทยนั้นเป็น...(ก).....อย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็น...(ก)...มนุษย์ชนิดหนึ่ง คือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี เราโชคดีที่มี...(ก)...เป็นของตนเองมาแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษา...(ก)...นี้ก็มีหลายประการ อย่างหนี่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก.....”

คำในช่อง...(ก)...คือคำใด

a) ภาษาไทย
b) วรรณคดี
c) บริสุทธิ์
d) วิชาการ
e) มรดกไทย
32. “รักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง" หมายถึงข้อใด


a) ใช้เสียงสื่อความหมายให้ถูกต้อง
b) ฟังเสียงที่สื่อสารให้ถูกต้อง
c) อ่านข้อความที่สื่อสารให้ถูกต้อง
d) ออกเสียงเพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง
e) ระมัดระวังการใช้คำในการสื่อสารให้ถูกต้อง
33. คำในข้อใดต้องออกเสียงแบบคำสมาส

a) มนุษย์
b) ชนิดหนึ่ง
c) วรรณคดี
d) บริสุทธิ์
e) วิชาการ
34. “ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้” หมายถึงข้อใด


a) ใช้คำมาประกอบประโยคให้ถูกต้อง
b) ใช้คำให้สุภาพเหมาะสมในการสื่อสาร
c) ใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้รับสาร
d) ใช้คำให้สละสลวยตามรูปแบบของการสื่อสาร
e) ใช้คำให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
35. ข้อใดขึ้นต้นด้วยคำที่มีเสียงสามัญ

a) เราโชคดี
b) แต่โบราณกาล
c) ต้องมีการบัญญัติ
d) สมควรอย่างยิ่ง
e) ให้ถูกต้องชัดเจน
36. ข้อใดขึ้นต้นด้วยคำที่เป็น " อักษรกลาง “

a) แสดงความคิดเห็น
b) บริสุทธิ์ในทางออกเสียง
c) ควรจะใช้คำเก่าๆ
d) นึกว่าไม่รำรวยพอ
e) ถูกต้องชัดเจน
37. จงอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 37-40

“....ครั้นรุ่งเช้าวันอาทิตย์ เราก็ครอบครองศาลานี้ทั้งวัน ทั้งเล่นไอ้เข้ไอ้โขง ใช้พื้นศาลาเป็นบก ใช้พื้นดินเป็นแม่น้ำ คนที่ถูกเป็นไอ้เข้จะอยู่บนพื้นดิน คอยไล่จับคนที่โดดจากศาลาลงไปร้องล้อเลียน ล่อหลอก ทำหูทำตา ทำมือทำไม้ เอียงคอ ยักเอวให้ แล้วร้องพร้อมๆ กันว่า ไอ้เข้ไอ้โขง มาโรงไม้สัก ไอ้เข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า....”

ข้อใดมีคำที่เป็น " คำตาย “


a) ครั้นรุ่งเช้า
b) พื้นศาลา
c) ทำมือทำไม้
d) เอียงคอ
e) ยักเอวให้
38. ข้อใดเป็นการสื่อสารด้วย วัจนภาษา

a) ร้องล้อเลียน
b) ทำหูทำตา
c) ทำมือทำไม้
d) เอียงคอ
e) ยักเอวยักไหล่
39. ข้อใดมีจำนวนพยางค์มากที่สุด


a) วันอาทิตย์
b) ไอ้เข้ไอ้โขง
c) โรงไม้สัก
d) ร้องล้อเลียน
e) ร้องพร้อมกัน
40. คำในข้อใดไม่มีรูปวรรณยุกต์ทุกคำ


a) รุ่งเช้าวันอาทิตย์
b) ครอบครองศาลานี้ทั้งวัน
c) ทั้งเล่นไอ้เข้ไอ้โขง
d) โดดจากศาลา
e) ไปร้องล้อเลียนล่อหลอก
41. ข้อใดมี คำนาม มากที่สุด

a) ดอกไม้ จะบาน
b) บริสุทธิ์ กล้าหาญ จะบานในใจ
c) ชีวิต อุทิศ ยอมตน
d) ฝ่าความสับสน
e) เพื่อผลประชา
42. ข้อใดมีคำ ควบกล้ำ

a) บริสุทธิ์
b) กล้าหาญ
c) สีขาว
d) เรียนรู้
e) มวลชน
43. ผู้แต่งต้องการถ่ายทอดความรู้สึกใดให้ผู้อ่านได้รับทราบ


a) ความสุขสมหวังในชีวิตของหนุ่มสาว
b) ความเศร้าสลดใจในวัยหนุ่มสาว
c) ความท้อแท้สิ้นหวังของหนุ่มสาว
d) ความฝันใฝ่ในอนาคตที่สดใส่ของหนุ่มสาว
e) ความภาคภูมิใจในอุดมการณ์ของหนุ่มสาว
44. คำใดหมายถึง ความถูกต้อง


a) ดอกไม้
b) บริสุทธิ์
c) กล้าหาญ
d) สีขาว
e) ศรัทธา
45. คำใดหมายถึง ความคิดหรือความตั้งใจ


a) ดอกไม้
b) บริสุทธิ์
c) กล้าหาญ
d) สีขาว
e) ศรัทธา
46. จงอ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 46-50
น้ำค้าง พ่างเพชร เม็ดน้อย
ย้อยหยด ใส่ใบ พฤกษา
ลมพัด อ่อนอ่อน ผ่อนมา
บุหงา หอมรื่น ชื่นใจ
ข้อใดมีคำแสดงว่าเป็นเวลา กลางคืน


a) น้ำค้าง พ่างเพชร เม็ดเม็ดน้อย
b) ย้อยหยด ใส่ใบ พฤกษา
c) ลมพัด อ่อนอ่อน ผ่อนมา
d) บุหงา หอมรื่น ชื่นใจ
e) ลมพัด หอมรื่น ชื่นใจ
47. คำประพันธ์นี้แสดงถึงอารมณ์ของผู้แต่งเป็นไปตามข้อใด


a) มีความทุกข์ใจ
b) มีความสุขใจ
c) มีความว้าเหว่ใจ
d) มีความเหงาใจ
e) มีความอาลัยอาวรณ์
48. ข้อใดมีคำแสดงการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง

a) น้ำค้าง พ่างเพชร เม็ดเม็ดน้อย
b) ย้อยหยด ใส่ใบ พฤกษา
c) ลมพัด อ่อนอ่อน ผ่อนมา
d) บุหงา หอมรื่น ชื่นใจ
e) ลมพัด หอมรื่น ชื่นใจ
49. ข้อใดมีคำแสดงความเคลื่อนไหวของสิ่งหนึ่งสู่อีกสิ่งหนึ่ง


a) น้ำค้าง พ่างเพชร เม็ดเม็ดน้อย
b) ย้อยหยด ใส่ใบ พฤกษา
c) ลมพัด อ่อนอ่อน ผ่อนมา
d) บุหงา หอมรื่น ชื่นใจ
e) ลมพัด หอมรื่น ชื่นใจ
50. ข้อใดมีคำที่หมายถึงดอกไม้


a) น้ำค้าง พ่างเพชร เม็ดเม็ดน้อย
b) ย้อยหยด ใส่ใบ พฤกษา
c) ลมพัด อ่อนอ่อน ผ่อนมา
d) บุหงา หอมรื่น ชื่นใจ
e) ลมพัด หอมรื่น ชื่นใจ
This is more feedback!
This is the feedback!



Back to Top