<<This message will be removed when you register >>


วิชา การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร รหัส 3000-0102 3(3)


1. ข้อใดกล่าวถึงคำว่าประสิทธิภาพได้ถูกต้อง

a) ความสำเร็จในความสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มที่
b) ความสำเร็จในความสามารถดำเนินงานกิจการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
c) การเปรียบเทียบการใช้ทรัพยากรกับผลของงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน
d) การเปรียบเทียบความสำเร็จในการใช้ทรัพยากร กับผลสำเร็จของงาน
e) การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไรในขณะที่ทำงานตามเป้าหมาย
2. ระบบ TQM มีวิวัฒนาการจากประเทศใด

a) อังกฤษ
b) ญี่ปุ่น
c) สวีเดน
d) สหรัฐอเมริกา
e) สวิสเซอร์แลนด์
3. ระบบที่เป็นพื้นฐานในการสร้างวินัยในองค์กร โดยให้พนักงานกระทำด้วยตนเอง คือระบบใด

a) ระบบ 5 ส
b) ระบบ TQM
c) กลุ่ม QCC
d) วงจร PDCA
e) ระบบข้อเสนอแนะ
4. วงจร PDCA องค์ประกอบของคำ A (Act) คืออะไร

a) การนำแผนไปปฏิบัติ
b) การแก้ไขข้อบกพร่อง
c) การตรวจสอบการปฏิบัติงาน
d) การเขียนแผนงาน
e) การรายงานผล
5. ความสำเร็จขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นผลสำเร็จที่องค์กรจะต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องเงื่อนไขใหม่ๆ คืออะไร

a) สภาพแวดล้อม
b) เทคโนโลยี
c) การค้าระหว่างประเทศ
d) มนุษย์สัมพันธ์
e) วัฒนธรรม
6. สถาบันการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม ห้างหุ้นส่วน จัดเป็นองค์กรลักษณะใด

a) องค์กรเอกชน
b) องค์กรราชการ
c) องค์กรทางสังคม
d) องค์กรแบบปฐม
e) องค์กรแบบมัธยม
7. สมาคม ชมรม สโมสร จัดเป็นองค์กรประเภทใด

a) องค์กรรูปนัย
b) องค์กรอรูปนัย
c) องค์กรเอกชน
d) องค์กรการกุศล
e) องค์กรทางสังคม
8. การมอบอำนาจทำได้ง่าย ขจัดปัญหาการเกี่ยงกันทำงาน หรือความรับผิดชอบ หมายถึงข้อใด

a) ประโยชน์ด้านผู้บริหาร
b) ประโยชน์ด้านผู้ปฏิบัติ
c) ประโยชน์ด้านผู้มาติดต่อหรือลูกค้า
d) ประโยชน์ด้านองค์กร
e) ประโยชน์ด้านคู่แข่ง
9. ข้อใดถูกต้อง แผนภูมิแสดงตำแหน่งและหน่วยงานย่อย และบอกหน้าที่ย่อๆ ของแต่ละตำแหน่งไว้

a) แผนภูมิโครงสร้างหลัก
b) แผนภูมิภาคปฏิบัติ
c) แผนภูมิแสดงกระบวนการทำงาน
d) แผนภูมิแสดงตำแหน่งงาน
e) แผนภูมิแสดงตัวบุคคล
10. ข้อใดถูกต้องตามคำกล่าวนี้ “ความสัมพันธ์ตามลำดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้ทราบว่าการติดต่อสื่อสารมีทางเดินอย่างไร”

a) การแบ่งงานกันทำ
b) อำนาจการบังคับบัญชา
c) การกระจายอำนาจ
d) สายการบังคับบัญชา
e) ช่วงการบังคับบัญชา
11. ข้อใดกล่าวถึงวัฒนธรรมได้ถูกต้อง

a) ค่านิยมร่วมของพนักงานในองค์กร
b) ทัศนคติของแต่ละคน
c) ค่านิยม งานพิธี เรื่องราวที่กระตุ้นความรู้สึก ความผูกพันในบรรดาสมาชิกในองค์กร
d) สมมติฐาน ความเชื่อและบรรทัดฐานร่วมกัน ที่ผูกพันสมาชิกในองค์กร
e) ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม หรือวิถีชีวิตของหมู่คณะ
12. องค์กรที่มีความเข้มแข็งจะมีองค์ประกอบตามข้อใด

a) การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร
b) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสม
c) เครือข่ายวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
d) ค่านิยมที่ยึดถือปฏิบัติ
e) ยอดขายสูง
13. ข้อใดหมายถึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมที่เป็นแกน

a) ค่านิยมหรือประเพณี
b) ประเพณีหรือความเชื่อ
c) ค่านิยมหรือความเชื่อร่วมกัน
d) กฎหรือระเบียบที่องค์กรกำหนดให้ปฏิบัติ
e) ความเชื่อหรือวีรบุรุษ
14. วัฒนธรรมที่สังเกตได้ หมายถึงข้อใด

a) ค่านิยม-วัฒนธรรมองค์กร
b) ความเชื่อ-ธรรมเนียมปฏิบัติ
c) สิ่งที่บุคคลมองเห็นและได้ยิน หรือวิถีทางของบุคคลในองค์กร
d) ความชัดเจนด้านนโยบายและเป้าหมาย
e) ผู้บริหารตรวจสอบการทำงานอย่างเคร่งครัด
15. เมื่อค่านิยมและความเชื่อถูกยอมรับทั่วทั้งองค์กร และพนักงานกระทำตามค่านิยมเหล่านี้แล้วจะมีผลตามข้อใด

a) สังคมจะมีความสมบูรณ์
b) องค์กรจะมีความเข้มแข็ง
c) บุคลากรจงรักภักดีองค์กร
d) สร้างบรรทัดฐานแก่องค์กร
e) องค์กรมีผลกำไรสูง
16. องค์ประกอบที่สำคัญของพฤติกรรมบุคคลในองค์กร หมายถึงข้อใด

a) ผู้บังคับบัญชา
b) การรับรู้
c) ค่าจ้าง
d) งาน
e) ความเชื่อ
17. ข้อใดเป็นผลกระทบที่เกิดจากการแสดงออกของพฤติกรรมกลุ่ม

a) ประสิทธิภาพ - ค่านิยม
b) ความพึงพอใจ - การรับรู้
c) ประสิทธิภาพ - ความพึงพอใจ
d) การรับรู้ - ประสิทธิภาพ
e) ผลผลิต - ทัศนคติ
18. พฤติกรรมในองค์กร ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจากข้อใด

a) ผู้ปฏิบัติ
b) ผู้นำ
c) ผู้บริโภค
d) ผู้กำกับติดตาม
e) ผู้ใต้บังคับบัญชา
19. ข้อใดกล่าวถูกต้อง “สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึกและเจตคติของบุคคลที่มีต่อการปฏิบัติงาน”

a) ความเป็นอิสระในการทำงาน
b) ความสำคัญของการทำงาน
c) บรรยากาศของการทำงาน
d) ทัศนคติของบุคคล
e) ความพึงพอใจในการทำงาน
20. ข้อใดหมายถึงองค์ประกอบพื้นฐานที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน

a) ความเชื่อ - ความพึงพอใจ
b) ค่าจ้าง - ความเชื่อ
c) งาน - ค่าจ้าง
d) งาน - ค่านิยม
e) ทัศนคติ - ค่านิยม
21. วิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ เป็นแนวคิดการบริหารของใคร

a) Tayler
b) Oldman
c) Hackman
d) Hackman and Tayler
e) Maslow
22. ข้อใดเป็นวิธีการบริหารที่เน้นวัตถุประสงค์ (MBO)

a) การบริหารเชิงคุณภาพ
b) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
c) การบริหารแบบวิทยาศาสตร์
d) การบริหารมนุษย์สัมพันธ์
e) การบริหารงานเชิงประจักษ์
23. ข้อใดหมายถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้ตนเอง

a) ฐานะทางเศรษฐกิจ
b) บุคลิกภาพ
c) สติปัญญา
d) สุขภาพ
e) พฤติกรรม
24. ข้อใดหมายถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงตนเอง เพื่อประสิทธิภาพของงานในองค์กร

a) หมั่นรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์
b) มีความกระตือรือร้น
c) เตรียมตัวให้พร้อมเสมอ
d) การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
e) แต่งกายตามแฟชั่น
25. ข้อใดเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาตนเองไปสู่ผลสำเร็จของงาน

a) การเป็นผู้ที่มีจิตใจเบิกบาน
b) สิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
c) สร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม
d) สร้างค่านิยมทางสังคมที่ดี
e) เป็นคนที่หวาดระแวงอยู่เสมอ
26. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง โดยอาศัยมโนภาพแห่งตน เช่น การสร้างภาพตนเองหมายถึงข้อใด

a) การเพ้อฝัน
b) มีเป้าหมายในการทำงาน
c) พยายามทำงานเป็นทีม
d) มีสมาชิกในการทำงาน
e) การวิเคราะห์ข้อดี-เสียของตนเอง
27. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทีมงานที่ดี

a) มีความเชื่อใจไว้วางใจ
b) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
c) การสื่อสารเป็นแบบเปิด
d) สมาชิกมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
e) สมาชิกของทีมงานรับรู้นโยบายด้วยความเข้าใจไม่ตรงกัน
28. วัตถุประสงค์ในการสร้างทีมงาน หมายถึงข้อใด

a) สุขภาพจิตดีขึ้น
b) ทำงานได้ตรงเวลา
c) มีเพื่อนร่วมงานที่ดี
d) ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น
e) มีคนคอยปกป้องหากผลงานบกพร่อง
29. คำว่า “Positive Thinking” ตรงกับความหมายข้อใด

a) ความคิดเชิงบวก
b) ความคิดสุดยอด
c) ความคิดความจำ
d) ความดีความงาม
e) ความคิดที่ละเอียดรอบคอบ
30. ลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ หมายถึงข้อใด

a) บุคลิกภาพ
b) ลักษณะพิเศษของบุคคล
c) ลักษณะทางสังคม
d) บุคลิกทางอารมณ์
e) ถูกทุกข้อ
31. ลักษณะทางอารมณ์ หมายถึงข้อใด

a) ท่าทีปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
b) ความสามารถในการควบคุมความรู้สึก และการกระทำของบุคคล
c) ขนาดรูปร่าง หน้าตา สัดส่วน ผิวพรรณ อันเป็นลักษณะประจำตัว
d) ทัศนคติต่างๆ ของบุคคล เช่น การตัดสินใจ
e) ลักษณะท่าทางประจำตัวของแต่ละบุคคล
32. ข้อใดหมายถึงบุคลิกภาพภายใน

a) กิริยาท่าทาง
b) การพูด
c) การแต่งกาย
d) ความสุภาพ
e) ผิวพรรณ
33. การพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง สิ่งแรกที่จะต้องกระทำคือข้อใด

a) ปรับปรุงแก้ไข
b) การวิเคราะห์ตนเอง
c) แสดงออกใหม่
d) ประเมินผล
e) การแต่งกายให้ทันสมัย
34. สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดหรือสัมผัสได้ การแก้ไขปรับปรุงทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย วัดผลได้ทันที หมายถึงข้อใด

a) การปรับปรุงบุคลิกโดยรวม
b) การปรับปรุงบุคลิกภายใน
c) การปรับปรุงบุคลิกภายนอก
d) การปรับปรุงบุคลิกภาพเฉพาะทาง
e) การปรับปรุงการพูด
35. กลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ หมายถึงข้อใด

a) การใช้วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มผลผลิต
b) การบริหารที่สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เกิดขึ้นทุกแง่มุมทั่วทั้งองค์กร
c) การเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเรียนรู้เอาชนะคู่แข่งขัน
d) การบริหารแบบวางแผนสมบูรณ์
e) การทำกำไรให้กับองค์กรมากที่สุด
36. ข้อใดหมายถึงบรรยากาศในองค์กร

a) การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยส่วนรวม
b) การอาศัยระบบควบคุมโดยสร้างสรรค์
c) การรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
d) การสร้างแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กร
e) การที่บุคลากรในองค์กรมีความขัดแย้งกันมากที่สุด
37. การบริหารที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเป้าหมายเป็นเครื่องมือ จะสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัย คำตอบข้อใด

a) ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
b) ผู้บริหารที่มีพร้อมด้วยภูมิปัญญา
c) ผู้บริหารที่ใช้กลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยม
d) ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีส่วนร่วมพิจารณาเป้าหมายด้วย
e) ถูกทุกข้อ
38. การบริหารโดยใช้ MBO เป็นเครื่องมือ คำว่า MBO หมายถึงข้อใด

a) การบริหารโดยเน้นระบบที่ดี
b) การบริหารโดยเน้นกลยุทธ์
c) การบริหารโดยเน้นค่านิยม
d) การบริหารโดยเน้นปฏิบัติ
e) การบริหารโดยเน้นเป้าหมาย
39. กระบวนการสื่อสาร มีองค์ประกอบตรงตามข้อใด

a) แหล่งข้อมูล ผู้ดำเนินงาน ผู้รับ ผู้ติดตาม
b) แหล่งข้อมูล ข่าวสาร ผู้ส่ง ผู้รับ
c) ข่าวสาร แหล่งข้อมูล ผู้ส่ง ผู้ปฏิบัติ
d) ผู้ส่ง ผู้รับ แหล่งข้อมูล ผู้ดำเนินงาน
e) ข่าวสาร ผู้รับ ผู้ส่ง ผู้ปฏิบัติ
40. คำว่า “Transmitter” ตรงกับข้อใด

a) ผู้ควบคุม
b) ผู้ปฏิบัติการ
c) ผู้ส่งสาร
d) ผู้รับสาร
e) แหล่งข้อมูล
41. การสื่อสารในหมู่คนกลุ่มใหญ่ และใช้ผู้รับสารจำนวนมากๆ ได้แก่ข้อใด

a) การสื่อสารทวิภาค
b) การสื่อสารระหว่างองค์กร
c) การสื่อสารภายในองค์กร
d) การสื่อสารมวลชน
e) การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่
42. การเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเฉพาะบุคคล อันจะทำให้มาตรฐานการทำงานสูงขึ้น เรียกชื่อตามข้อใด

a) การฝึกอบรม
b) การพัฒนา
c) การเปลี่ยนเจตคติ
d) การสร้างค่านิยม
e) การพัฒนา
43. องค์ประกอบสำคัญของการฝึกอบรมตามแนวคิดเชิงระบบ คือข้อใด

a) ความรู้
b) กระบวนการ
c) ทักษะ
d) ค่านิยม
e) ถูกทุกข้อ
44. การสั่งการที่ดีควรมีลักษณะตามข้อใด

a) การตรวจสอบความถูกต้อง
b) กำหนดงานที่จะสั่งให้ปฏิบัติ
c) คำสั่งต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
d) คำสั่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนตัว
e) เลือกคนที่ต้องการจะสั่ง
45. การควบคุมงานที่ดีย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการงาน ดังนั้น สิ่งที่ต้องควบคุม คือข้อใด

a) คุณภาพของงาน
b) ตรวจสอบงาน
c) ความก้าวหน้าของงาน
d) ประสิทธิภาพของงาน
e) การปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร
46. ประโยชน์ที่ได้รับจากการควบคุมงาน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ตามข้อใด

a) ด้านบุคคลและด้านคุณภาพ
b) ด้านบุคคลและด้านการงาน
c) ด้านคุณภาพและด้านการงาน
d) ด้านการงานและด้านค่านิยม
e) ด้านคุณภาพและด้านค่านิยม
47. สมอ. หมายถึงข้อใด

a) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
b) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
c) สำนักงานส่งเสริมมาตรฐานอุตสาหกรรม
d) สำนักงานส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
e) สำนักงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
48. เป็นมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ เป็นมาตรฐานระบบการบริหารงานขององค์กร โดยมุ่งเน้นด้านคุณภาพได้แก่ข้อใด

a) มอก.1800
b) ISO 1800
c) ISO 9000
d) ISO 1400
e) QS 9000
49. เป็นตราสัญลักษณ์ตามข้อใด



a) เครื่องหมายมาตรฐานบังคับของผลิตภัณฑ์
b) เครื่องหมายมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านความปลอดภัย
c) เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปของผลิตภัณฑ์
d) เครื่องหมายมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
e) เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
50. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ก็คือ

a) มาตรฐาน
b) คุณภาพ
c) ISO 9000
d) ISO 1400
e) มาตรฐาน ISO 18000
This is more feedback!
This is the feedback!



Back to Top