<<This message will be removed when you register >>


วิชาการเงินส่วนบุคคล


1. การกำหนดให้เงินมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าของสิ่งของที่จะทำการแลกเปลี่ยน เพื่อให้สะดวกในการชำระหนี้ และแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจ จัดเป็นหน้าที่ใดของเงินสด

a) สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
b) หน่วยในการวัดมูลค่า
c) เครื่องสะสมมูลค่า
d) มาตรฐานในการชำระหนี้
e) เปรียบเทียบมูลค่า
2. วิธีการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลที่เน้นการปฏิบัติตนอย่างสมถะ ไม่ยึดลัทธิบริโภคนิยมถือเป็นการปฏิบัติตนตามแบบใด

a) ปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
b) ปฏิบัติตนอย่างมีเหตุผล
c) ปฏิบัติตนอย่างพอประมาณ
d) ปฏิบัติตนอยู่ในหลักความรู้ คุณธรรม
e) ปฏิบัติตนอย่างมีภูมิคุ้มกัน
3. การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย หากต้องการให้การวางแผนทางการเงินที่จัดทำเป็นไปตามแผนการใช้เงินต้องปฏิบัติตนอย่างไร

a) รู้จักใช้จ่ายเงิน
b) มีหลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายเงิน
c) มีความรอบคอบในการใช้เงิน
d) ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือรายจ่ายฟุ่มเฟื่อย
e) บริหารการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ
4. ข้อใด ไม่ใช่ สิ่งที่ต้องพิจารณาในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน

a) การหารายได้
b) การใช้จ่ายหรือรายจ่าย
c) การออม
d) การลงทุน
e) การควบคุมค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย
5. ผลประโยชน์ที่เราพึงได้รับจากการประกอบอาชีพ อาจเป็นรูปของตัวเงินหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ คือความหมายของข้อใด

a) การประกอบอาชีพ
b) รายได้
c) รายได้ที่แท้จริง
d) สวัสดิการ
e) รายได้จากอาชีพหลัก
6. ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

a) อายุ, เพศ
b) เพศ, อาชีพ
c) อาชีพ, การศึกษา
d) อายุ, การศึกษา
e) เพศ, คุณสมบัติเฉพาะตัว
7. นายธงชาติมีอาชีพรับราชการครูและเปิดร้านซ่อมรถ แสดงว่าบุคคลดังกล่าวมีรายได้จากแหล่งใด

a) รายได้จากอาชีพหลัก
b) รายได้จากอาชีพเสริม
c) รายได้จากเป็นผู้ประกอบการ
d) รายได้จากอาชีพหลักและอาชีพเสริม
e) รายได้จากอาชีพหลักและการลงทุนในหลักทรัพย์
8. กรณีที่ลูกจ้างทำงานเพิ่มเติมในวันหยุด (ชั่วโมงเหมือนทำงานปกติ) จะได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้นกี่เท่า

a) 1.5 เท่า
b) 2 เท่า
c) 2.5 เท่า
d) 3 เท่า
e) 3.5 เท่า
9. เมื่อบุคคลประกอบอาชีพและมีรายได้ หน้าที่สำคัญสำหรับผู้มีรายได้ทุกคนต้องปฏิบัติคือข้อใด

a) เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
b) เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
c) เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
d) เสียภาษีศุลกากร
e) เสียภาษีโรงเรือน
10. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีวิธีการคำนวณตามข้อใด

a) เงินได้พึงประเมินบวกค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อน
b) เงินได้พึงประเมินบวกเงินได้อื่น ๆ หักค่าลดหย่อน
c) เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่าย
d) เงินได้พึงประเมินหักค่าลดหย่อน
e) เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
11. จำนวนเงินได้สุทธิที่ได้รับการ ยกเว้น ไม่ต้องชำระภาษี คือข้อใด

a) ไม่เกิน 100,000 บาท
b) ไม่เกิน 120,000 บาท
c) ไม่เกิน 140,000 บาท
d) ไม่เกิน 150,000 บาท
e) ไม่เกิน 180,000 บาท
12. นายอดออมทำงานวันละ 8 ชม. และมีรายได้ 400 บาท นายออมสินทำงานวันละ 6 ชม. และมีรายได้ 600 บาท ข้อใดกล่าวถูกต้อง

a) นายอดออมมีรายได้ที่แท้จริงมากกว่านายออมสิน
b) นายออมสินมีรายได้ที่แท้จริงมากกว่านายอดออม
c) นายอดออมและนายออมสินมีรายได้ที่แท้จริงเท่ากัน
d) นายออมสินทำงานเสี่ยงกว่านายอดออม
e) สรุปแน่นอนไม่ได้
13. ลูกจ้างของบริษัทมีสิทธิ์ลาคลอดบุตรได้ตามข้อใด จึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้าง

a) 30 วัน
b) 60 วัน
c) 90 วัน
d) 120 วัน
e) 150 วัน
14. วันแรงงานแห่งชาติตรงตามข้อใด

a) 1 เมษายนของทุกปี
b) 1 พฤษภาคมของทุกปี
c) 1 มิถุนายนของทุกปี
d) 1 กรกฎาคมของทุกปี
e) 1 สิงหาคมของทุกปี
15. จุดเริ่มต้นที่สำคัญของรากฐานการเงินที่ดีของบริษัทโดยการสะสมเงินส่วนหนึ่งของรายได้ปัจจุบันไว้ใช้ในอนาคต โดยอาจต้องลดรายจ่ายบางรายการเพื่อให้เหลือเงินเก็บมากขึ้น หมายถึง

a) ธรรมชาติของเงิน
b) ความพอประมาณ
c) การออมเงิน
d) การหารายได้
e) การใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
16. ข้อใด ไม่ใช่ ความสำคัญของการออมเงินที่เป็นเกราะป้องกันปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้

a) ทำให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว
b) ทำให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนในกลุ่มว่าเป็นคนมีเงิน
c) ทำให้มีรายได้และผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
d) ทำให้มีเงินออมไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน
e) ทำให้มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายซื้อสิ่งของที่ต้องการ
17. ข้อใดคือเป้าหมายการออมเงินเพื่อการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

a) แดงซื้อรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ตนเอง
b) เรยาซื้อเครื่องประดับตกแต่งร่างกายเพื่อให้ดูดี
c) พ่อซื้อรถจักรยานยนต์เพื่อให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น
d) สมชายเก็บเงินไว้ซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่
e) สมพรเก็บเงินซื้อสลากออมสินเพื่อออมเงินไว้เปิดร้านทำผม
18. การฝึกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่ควรทำถึงแม้ไม่อยากทำก็ตาม เพื่อให้มีเงินออม ไว้ใช้จ่ายอย่างอิสระเรียกว่าการสร้างวินัยการออม ต่อไปนี้ข้อใด ไม่ใช่ การสร้างวินัยการออม

a) เริ่มต้นจากการออมทีละน้อยก่อนแล้วทยอยเพิ่มขึ้น
b) ประกาศตัวเป็นศัตรูกับกิเลสหรือสิ่งยั่วเย้าโดยทบทวนไตร่ตรองให้ดีก่อนจ่ายเงินซื้อ
c) บันทึกรายรับ-รายจ่าย ไว้เป็นหลักฐานเพื่อตัดทอนสิ่งไม่จำเป็นออกไป
d) ทำบัตรเครดิตไว้หลายใบเพื่อกระจายการจ่ายเงิน
e) หักเงินออมจากรายได้ก่อนที่เหลือจึงนำไปใช้จ่าย
19. วิธีออมเงินที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ง่ายควรเริ่มจาก

a) ตัดรายจ่ายอาหารออกครึ่งหนึ่งของที่เคยจ่ายในครอบครัว
b) ลดการบริโภคทุกชนิดเพื่อให้เหลือเงินออมมาก ๆ
c) หักรายจ่ายออกจากรายได้ก่อนที่เหลือจึงเป็นเงินออม
d) หักเงินออมออกจากรายได้ก่อนที่เหลือจึงนำไปใช้จ่าย
e) ใช้บัตรเครดิตหลายใบเพื่อทยอยการใช้จ่าย
20. ภาวะเงินเฟ้อ ความโลภ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เกี่ยวข้องอย่างไรกับการออมเงิน

a) ปัจจัยพื้นฐานของการออม
b) อุปสรรคของการออมเงิน
c) ตัวแปรที่ใช้คำนวณเงินออม
d) การตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน
e) การมีอิสรภาพทางการเงิน
21. นาเดียต้องการตรวจสุขภาพทางการเงินเพื่อความมั่นคงและทราบสถานะทางการเงินว่ามีทรัพย์สินสุทธิเหลืออยู่เท่าไรจะทำได้โดย

a) นำรายได้ทั้งหมด - รายจ่ายประจำเดือน
b) นำรายได้ทั้งหมด - หนี้สินรวมที่มีทั้งหมด
c) นำสินทรัพย์รวม - เงินสด
d) นำสินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม
e) นำรายได้รวม - ค่าใช้จ่าย - หนี้สิน
22. ถ้านายแบงค์ฝากเงิน จำนวนเงิน 1,000 บาทกับธนาคารออมสิน ระยะเวลา 2 ปี
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี จะได้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเงินเท่าใด

a) 1,100 บาท
b) 1,200 บาท
c) 1,210 บาท
d) 1,280 บาท
e) 1,300 บาท
23. น.ส.น้ำฝน ต้องการซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคา 600,000 บาท ชำระเงินสด 300,000 บาท และผ่อนกับบริษัทไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง โดยบริษัทคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลา 60 งวด (5 ปี) น.ส.น้ำฝนต้องผ่อนงวดละเท่าใด

a) 5,000 บาท
b) 5,500 บาท
c) 6,000 บาท
d) 6,500 บาท
e) 7,000 บาท
24. การวางแผนการใช้เงินควรปฏิบัติอย่างไร

a) รู้จักประมาณตนในการใช้เงิน
b) วางแผนการใช้เงินตามกำลังทรัพย์และกำลังเงินที่มีอยู่จริง
c) เลือกซื้อแต่ของที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐาน
d) วางแผนการใช้เงินล่วงหน้า
e) ไม่หลงกลในกลยุทธ์การตลาดของผู้ขาย
25. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

a) ตาล นักเรียน ม.6 ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย จึงซื้อหนังสือติวเพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยหลายเล่ม
b) ต้อม มีอาชีพเป็นนางแบบ ซื้อเสื้อผ้าเครื่องประดับสม่ำเสมอ
c) ตุ๊ก ชอบท่องเที่ยวโบราณคดีเพิ่มความรู้ เพื่อใช้สอนนักศึกษา
d) ตี่ พนักงานบริษัทต้องการตู้เย็นจึงหาข้อมูลราคา ประสิทธิภาพตู้เย็นก่อนการตัดสินใจ
e) ต้น ซื้อนาฬิกาจากพนักงานที่เสนอโปรโมชั่นพิเศษ
26. รายจ่ายประเภทบุคคลใดที่มีความสำคัญที่สุด

a) รายจ่ายประกันชีวิตเพื่ออนาคต
b) รายจ่ายด้านสาธารณูปโภค
c) รายจ่ายด้านการบริโภค
d) รายจ่ายด้านสุขภาพ
e) รายจ่ายด้านการเดินทาง
27. ค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหมายถึงข้อใด

a) เงินที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปเพื่อการดำรงชีพ
b) ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้มีเงินได้ที่ไม่เกี่ยวกับการมีเงินได้
c) เป็นรายการจ่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้
d) เป็นสิทธิที่กฎหมายให้แก่ผู้มีเงินได้นำมาหักออกจากเงินได้พึงประเมิน
e) เมื่อมีรายได้ทุกคนต้องจ่ายภาษีเงินได้
28. วิธีการเลือกซื้อสินค้าวิธีใดต่อไปนี้ที่จะทำให้เราเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้

a) ประเมินทางเลือกซื้อสินค้าหลาย ๆ ทาง
b) ควรเลือกซื้อสินค้าจากผู้ขาย
c) เปรียบเทียบราคาและเงื่อนไขการขายจากผ้ายหลาย ๆ ราย
d) ซื้อสินค้าในราคาต่ำกว่าปกติ
e) ซื้อสินค้าตามความต้องการของครอบครัว
29. การลงทุนที่ผ่านสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินจะทำหน้าที่และตัดสินใจแทนผู้ลงทุน

a) Material Investment
b) Company Investment
c) Direct Investment
d) Indirect Investment
e) Intangible Investment
30. ข้อใดเป็นการลงทุนทางตรง

a) ฝากเงินกับธนาคาร
b) ทำประกันชีวิต
c) ร่วมทุนกับเพื่อนเปิดร้านอาหาร
d) ซื้อกองทุน RMF
e) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
31. นางสาวเรยา มีคุณสมบัติเด่น เช่น มีเงิน ชอบเป็นนายของตนเอง และยอมรับผลที่ตามมาได้ ถ้าหากจะลงทุนทางด้านธุรกิจตามข้อใดจึงจะเหมาะสมกับนางสาวเรยามากที่สุด

a) เป็นนายทุนให้นักการเมือง
b) เปิดร้านขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
c) ฝากเงินกับธนาคาร
d) ซื้อสลากออมสิน
e) ปล่อยเงินกู้
32. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการลงทุน

a) เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
b) เพื่อสิทธิในการจองหุ้นสามัญออกใหม่
c) เพื่อให้มีรายได้ประจำ
d) เพื่อให้มีสภาพคล่อง
e) เพื่อให้เงินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
33. ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุนเรียกว่า

a) สิทธิประโยชน์
b) ดอกเบี้ย
c) กำไรสะสม
d) รายได้
e) เงินปันผล
34. เงินปันผลเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ใด

a) หุ้นกู้ หุ้นสามัญ
b) หุ้นสามัญ หน่วยลงทุน
c) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง
d) ตั๋วเงินคลัง หน่วยลงทุน
e) หน่วยลงทุน พันธบัตรรัฐบาล
35. Financial Risk หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอะไร

a) เกิดจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
b) เกิดจากการบริหารงานผิดพลาด
c) เกิดจากกิจการก่อหนี้มากเกินไป
d) เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเปลี่ยน
e) เกิดจากการลงทุนไม่มีความคล่องตัว
36. ความเสี่ยงประเภทใดที่สามารถควบคุมได้

a) ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
b) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย
c) ความเสี่ยงจากการตลาด
d) ความเสี่ยงจากภาวะการเมือง
e) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
37. การลงทุนประเภทใดต่อไปนี้ที่มีความปลอดภัยและสภาพคล่องดีกว่า

a) การประกอบธุรกิจ
b) ลงทุนในหุ้นสามัญ
c) ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
d) ลงทุนในหุ้นกู้
e) การทำประกันชีวิต
38. การฝากเงินประเภทใดต่อไปนี้ ที่ผู้ฝากมีสิทธิได้ถูกรางวัลจากการฝากเงินและได้ดอกเบี้ยเงินฝากเมื่อครบอายุของการฝากเงิน

a) เงินฝากออมทรัพย์
b) เงินฝากประจำ
c) เงินฝากไม่ประจำ
d) เงินฝากกระแสรายวัน
e) เงินฝากสลากออกสินพิเศษ
39. ถ้าผู้มีเงินได้ทำประกันชีวิตให้แก่ตนเอง ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ผู้มีเงินได้จะได้รับประโยชน์ด้านภาษีจากการทำประกันหรือไม่อย่างไร

a) มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้เป็นอัตราเหมาร้อยละ 40 ของเงินเบี้ยประกันจ่ายในปีภาษีนั้น
b) มีสิทธิหักค่าลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายเบี้ยประกันจริงในปีภาษีนั้นแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
c) มีสิทธิหักค่าลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายเบี้ยประกันจริงในปีภาษีนั้นแต่ไม่เกินร้อยละ 40
d) ไม่มีสิทธิในการหักค่าลดหย่อนเพราะการประกันชีวิตต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
e) ไม่มีสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายแต่หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
40. การลงทุนตามข้อใดที่ได้รับสิทธิ์ประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือจากภาษีและผลตอบแทนดอกเบี้ย เงินปันผล หรือกำไร

a) ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
b) ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต
c) ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
d) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
e) ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
41. นายโตโน่ อายุ 26 ปี มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาระส่งเสียเลี้ยงดูใครแต่ชอบผลตอบแทนแน่นอนจากการลงทุน ดังนั้นการลงทุนในข้อใดจึงเหมาะสมกับนายโตโน่

a) ซื้อขายทองคำแท่ง
b) เปิดโรงเรียนสอนร้องเพลง
c) ซื้อที่ดินเพื่อไว้ขายในอนาคต
d) ฝากเงินกับธนาคาร
e) เล่นแชร์
42. นายเล็งการณ์ไกล เป็นผู้ที่รอบรู้สถานการณ์การเมือง ยอมรับความเสี่ยงเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูง ควรจะลงทุนธุรกิจประเภทใด

a) เป็นนายทุนให้นักการเมือง
b) ฝากเงินกับบริษัทเงินทุน
c) ซื้อหุ้นในสหกรณ์ออมทรัพย์
d) ซื้อขายที่ดิน
e) ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
43. หากจำเป็นที่จะต้องใช้เงินสดยามฉุกเฉินได้ทันที ควรลงทุนประเภทใดที่ไม่ขาดทุน

a) ฝากเงินกับธนาคาร
b) ซื้อขายทองคำ
c) ซื้อขายรถยนต์
d) ค้าขายส่วนตัว
e) เล่นแชร์
44. การใช้สินเชื่อส่วนบุคคลข้อใดจัดเป็นการลงทุนด้วย

a) การกู้ยืมเพื่อซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
b) การกู้ยืมเพื่อการท่องเที่ยว
c) การกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านเงินผ่อน
d) การกู้ยืมเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล
e) การกู้ยืมเพื่อการศึกษา
45. นายฟุ้งเฟ้อ อาชีพรับราชการ อุปนิสัยฟุ่มเฟื่อยชอบใช้เงินเกินตัว หากมีบัตรชนิดใดอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางการเงินในอนาคต

a) บัตรเครดิต
b) บัตร ATM
c) บัตรสมาชิกกองทุนประกันสังคม
d) บัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า
e) บัตรสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
This is more feedback!
This is the feedback!



Back to Top