<<This message will be removed when you register >>


วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและการเพิ่มผลผลิต (3000-0101)


1. คุณภาพของสินค้าโดยทั่วไปหมายถึงข้อใด

a) สินค้าที่ไม่มีข้อบกพร่อง
b) สินค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
c) สินค้าที่ลูกค้าต้องการ
d) สินค้าที่ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง
e) ถูกทุกข้อ
2. ความหมายของการบริหารงานคุณภาพคือข้อใด

a) การดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆด้านคุณภาพ
b) การมีกระบวนการดำเนินเป็นสิ่งกำหนด
c) การตอบสนองความต้องการของลูกค้าและลูกค้าพึงพอใจ
d) การทำให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กร
e) ถูกทุกข้อ
3. มาตรฐานที่เกิดขึ้นจากผลข้อตกลงของประเทศสมาชิกต่างๆได้แก่ข้อใด

a) ISO 9000
b) มาตรฐานทั่วไปของ สมอ.
c) มาตรฐานบริษัทโตโยต้าในประเทศต่างๆ
d) มาตรฐานของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
e) ไม่มีข้อใดถูก
4. ความสำคัญของระบบบริหารงานคุณภาพคือข้อใด

a) เพื่อให้ลูกค้ามีความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์และบริการ
b) เพื่อให้พนักงานทำงานเป็นทีมและมีการพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ๆ
c) เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเกิดความพึงพอใจ
d) เพื่อให้องค์กรมีระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้
e) ถูกทุกข้อ
5. การปฏิบัติงานตามข้อใดที่ทำให้พนักงานมีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

a) การทำกิจกรรม 5 ส.
b) การปฏิบัติงานตามระเบียบวิธี P D C A
c) การปฏิบัติงานตามใบสั่งจากผู้บังคับบัญชา
d) มีหน่วยปรับปรุงการทำงานอยู่ในองค์กร
e) ไม่มีข้อใดถูก
6. ข้อใดไม่ใช่ กระบวนการของการบริหารงานคุณภาพ

a) Input -> Process -> Output
b) ลูกค้า -> นโยบาย -> ผลกำไร
c) ปัจจัยนำเข้า -> การดำเนินงาน -> ผลงาน
d) ความต้องการของลูกค้า -> กระบวนการดำเนินงาน -> ความพึงพอใจของลูกค้า
e) ไม่มีข้อใดถูก
7. ทัศนคติข้อใดของพนักงานที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด

a) องค์กรดีเด่น
b) สวัสดิการดีเด่น
c) ชื่นชมองค์กร
d) เป็นเจ้าขององค์กร
e) ไม่มีข้อใดถูก
8. การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งงานพิจารณาจากข้อใด

a) พิจารณาพื้นฐานการศึกษา
b) พิจารณาประสบการณ์การทำงาน
c) พิจารณาความสามารถในเชิงการปฏิบัติงานหรือทักษะ
d) พิจารณาความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร
e) ถูกทุกข้อ
9. หลักการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/งานบริการจะต้องคำนึงถึงข้อใด

a) ความแข็งแรง ทนทาน
b) มีอุปกรณ์เสริมและเปลี่ยนได้
c) การบำรุงรักษาง่าย
d) ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม
e) ถูกทุกข้อ
10. การควบคุมไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพถึงมือลูกค้า องค์กรมีวิธีการตามข้อใด

a) แต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบกระบวนการคัดแยก
b) ติดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานให้ชัดเจน
c) จัดระบบเอกสารเพื่อบันทึกผลการคัดแยก
d) กำหนดพื้นที่จัดเก็บแยกจากคลังสินค้า
e) ถูกทุกข้อ
11. การเพิ่มผลผลิต หมายถึง

a) อัตราส่วนระหว่างกำไรกับต้นทุน
b) อัตราส่วนระหว่างผลผลิตกับต้นทุน
c) อัตราส่วนระหว่างผลผลิตกับปัจจัยนำเข้า
d) อัตราส่วนระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลผลิต
e) อัตราส่วนระหว่างกำไรกับขาดทุน
12. บุคคลใดที่นำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเพิ่มผลผลิต

a) Hennry L-Grantt
b) Frederick W. Taylor
c) Maslow
d) Davis
e) Adison
13. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเพิ่มผลผลิต

a) การผลิตสินค้าให้ได้มากที่สุด
b) การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
c) การมีกำไรเพียงพอและเหมาะสม
d) การใช้ต้นทุนในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
e) เพิ่มปัจจัยนำเข้าเพื่อให้ผลผลิตสูงขึ้น
14. ข้อใดเป็นวงจรบริหารของเดมมิ่ง

a) P A O R
b) P L A N
c) P D C A
d) Q C C
e) T Q M
15. การติดเครื่องปรับอากาศและแสงสว่างในที่ทำงาน เป็นการดำเนินงานใด

a) ปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม
b) ปรับปรุงแนวความคิด
c) ปรับปรุงทัศนคติ
d) ปรับปรุงสภาพการทำงาน
e) ปรับปรุงทักษะในการทำงาน
16. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มกิจกรรม 5 ส.

a) สะสาง
b) สะดวก
c) สุขสม
d) เสริมสร้างนิสัย
e) สุขลักษณะ
17. ปัจจัยที่ทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ ข้อใดสำคัญที่สุด

a) นโยบายรัฐบาล
b) ผู้บริหารขององค์กร
c) สภาพแวดล้อม
d) ปัจจัยนำเข้า
e) พนักงาน
18. ข้อใดไม่ใช่การบริหารงานเอกสาร

a) การผลิต
b) การนำเอกสารไปใช้
c) การควบคุมดูแลเอกสาร
d) การทำลาย
e) การเก็บรักษา
19. เอกสารทางการเงิน การบัญชี ต้องเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา กี่ปี

a) 5 ปี
b) 10 ปี
c) 12 ปี
d) 15 ปี
e) เก็บตลอดไป
20. เอกสารที่ได้รับการอนุมัติ ควรพิจารณาคุณค่าจากเอกสารดังต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง

a) คุณค่าต่อการเพิ่มผลผลิต
b) คุณค่าการบริการ
c) คุณค่าทางกฎหมาย
d) คุณค่าทางประวัติศาสตร์
e) คุณค่าทางการประชาสัมพันธ์
21. กิจกรรม 7 ส. ข้อใดที่ช่วยใดที่ช่วยให้มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นในการทำงาน

a) สะสาง
b) สะอาด
c) สะดวก
d) สุขลักษณะ
e) สร้างความประทับใจ
22. เป้าหมายหลักการให้การศึกษาแก่สมาชิกกลุ่มภาพข้อใดไม่ถูกต้อง

a) เพื่อยกระดับความสำนึกเรื่องคุณภาพให้สูงขึ้น
b) เพื่อให้รักษาระเบียบแบบแผนให้ถูกต้อง
c) เพื่อให้ปฏิบัติตามคู่มืออย่างถูกต้อง
d) ปลูกฝังความเชื่อมั่นไม่ทำให้เกิดของเสียแต่เริ่มต้น
e) เพื่อยกระดับภาวะผู้นำและทักษะของผู้นำกลุ่มคุณภาพ
23. หัวข้อที่ควรเสนอแนะให้มีการปรับปรุงงาน คือ

a) เป็นเรื่องที่ยังไม่เคยมีในนโยบายองค์กร
b) เป็นเรื่องเสนอแนะใหม่
c) เป็นความคิดสร้างสรรค์
d) เป็นเรื่องที่น่าจะปรับปรุงการทำงานได้
e) เป็นเรื่องที่น่าจะมีความเป็นไปได้
24. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาแบบทวีผล

a) พนักงานรับผิดชอบทำความสะอาดเครื่องจักรที่ตนดูแล
b) ช่างผู้รับผิดชอบเครื่องจักรจัดทำตารางการซ่อมบำรุง
c) อบรมพนักงานให้รู้จักดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร
d) ช่างเครื่องหยุดเครื่องจักรเล็กๆ น้อยๆ เพื่อซ่อมแซมหรือตรวจซ่อม
e) การสร้างระบบป้องกันการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นการออกแบบเพื่อใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา
25. กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานได้แก่

a) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน
b) กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยจำกัดเฉพาะพนักงานปฏิบัติเท่านั้น
c) ข้อปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยผู้บริหารเท่านั้นรู้จริง
d) จัดอบรมเฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
e) จัดทำประกันชีวิตให้พนักงานทุกคน
26. การสำรวจและวิเคราะห์งานก่อนจะเลือกและตัดสินใจลงมือทำงานข้อใดผิด

a) ตรวจสอบข้อมูลว่าต้องทำงานอะไรบ้าง
b) รู้องค์ประกอบของงานมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับใครหน่วยงานใด
c) ตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ
d) วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของงานที่มีประโยชน์หรือคุณค่าอย่างไร
e) วิเคราะห์องค์ประกอบของงานที่ทำแล้วก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ
27. ข้อใดไม่ใช่วิธีปฏิบัติต่อการพัฒนาการทางด้านร่างกาย

a) ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามรายละเอียดบัตรสุขภาพ
b) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
c) หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
d) ไปตากอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
e) พักผ่อนนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
28. ข้อใดไม่ใช่ความฉลาดทางอารมณ์

a) มีความเข้าใจตนเอง
b) มีความเข้าใจผู้อื่น
c) มีความสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในตนเองและภายนอก
d) ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
e) ระมัดระวังการใช้ยานพนะ
29. วิธีปฏิบัติในการพัฒนาจิตใจ ข้อใดไม่ถูกต้อง

a) ทำจิตใจให้สงบมีสมาธิ
b) ฟังและพิจารณาหัวข้อเรื่องที่ให้ด้วยความตั้งใจ
c) งานตนเองควรปฏิบัติด้วยตนเอง
d) ควรปรึกษาผู้รู้ในทุกๆ เรื่องทั้งเรื่องที่รู้และไม่รู้
e) ฝึกทำงานบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
30. ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ข้อใดผิดไปจากความเป็นจริง

a) ขั้นตอนวิเคราะห์
b) ขั้นการคิดประยุกต์
c) ขั้นประยุกต์ใช้
d) ขั้นประเมินผล
e) ขั้นรวมรวบข้อมูล
31. ข้อใดเป็นเนื้อหาสำคัญที่ต้องมีในคู่มือคุณภาพ

a) เป็นเอกสารหลักของงานบริหารงานคุณภาพ
b) ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆสำหรับงานบริหารงานคุณภาพ
c) ทำให้เกิดการร่วมคิกร่วมทำในการทำงาน
d) ทำให้เกิดการทำงานอย่างมีหลักการ
e) ใช้เป็นคู่มือการวางแผนการทำงาน
32. ข้อความ”ลูกค้าต้องได้รับสินค้าและบริการด้วยความพึงพอใจ”จัดเป็นส่วนประกอบใดของคู่มือคุณภาพ

a) นโยบาย-คุณภาพและวัตถุประสงค์
b) ขอบข่ายของระบบบริหารงานคุณภาพ
c) คำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่างๆ
d) ข้อกำหนดของระบบบริหารงานคุณภาพ
e) ระเบียบปฏิบัติงานคุณภาพ
33. ข้อใดเป็นรูปแบบของการจัดทำคู่มือคุณภาพ

a) จัดเรียงลำดับหัวข้อตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO9001:2000
b) จัดเรียงลำดับตามความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่างๆ
c) จัดเรียงลำดับตามนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ
d) จัดเรียงลำดับตามขอบข่ายของระบบบริหารงานคุณภาพ
e) จัดเรียงลำดับตามระเบียบวิธีปฏิบัติงาน
34. ข้อใดเป็นความหมายของการตรวจประเมินภายใน

a) การตรวจประเมินและติดตามผลการดำเนินงานในระบบบริหารงานคุณภาพ
b) การรายงานการตรวจประเมินการดำเนินงาน
c) การวางแผนการตรวจประเมินองค์กร
d) การตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานในทุกด้าน
e) การตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานในทุกด้าน
การศึกษาเอกสาร และบันทึกขององค์กร
35. หลักการพื้นฐานของการตรวจประเมินภายใน ต้องคำนึงถึงข้อใด

a) วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน เอกสารและบันทึกขององค์กร
b) วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน บุคลากรผู้ตรวจประเมิน
c) บุคลากรผู้ตรวจประเมิน การเตรียมงานของผู้ตรวจประเมิน
d) บุคลากรผู้ตรวจประเมิน วิธีการตรวจประเมิน
e) แผนการตรวจประเมิน กิจกรรมของการตรวจประเมิน
36. ข้อใดไม่ใช่เอกสารเพื่อตรวจประเมินภายในองค์กร

a) บททั่วไปขององค์กร
b) แผนการตรวจประเมินประจำปี
c) ใบสรุปผลการตรวจประเมิน
d) ใบแจ้งข้อสังเกตเพื่อการปรับปรุง
e) ใบประเมินราคา
37. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของระบบเอกสารบริหารคุณภาพ

a) เอกสารที่ใช้ในมาตรฐาน ISO 9000:2000
b) แสดงถึงข้อกำหนดรายละเอียดการบริหารงานคุณภาพ
c) ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงาน
d) สามารถนำไปใช้ได้จริง
e) ดูแลการติดตั้ง การผลิต และการบริการ
38. ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญของ ISO 9000:2000

a) สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท
b) มีการเลือกใช้ภาษาและคำศัพท์ได้เหมาะสม
c) ใช้กับระบบมาตรฐานงานอื่นได้
d) มีการตรวจสอบได้ทุกมาตรฐาน
e) มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
39. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9000:2000 ได้ถูกต้อง

a) การเตรียมการเบื้องต้น การปฏิบัติตามระบบบริหารคุณภาพ การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
b) การเตรียมการเบื้องต้น การตรวจทานระบบงาน การจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ
c) การเตรียมการเบื้องต้น การปฏิบัติตามระบบ การขอรับรองระบบคุณภาพ
d) การตรวจทานระบบงาน การเตรียมการเบื้องต้น การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
e) การปฏิบัติตามระบบการบริหารคุณภาพ การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การตรวจติดตามคุณภาพภายใน
40. ข้อใดเป็นประโยชน์ของระบบบริหารคุณภาพ

a) ทำให้เกิดความรับผิดชอบตามหน้าที่ของผู้บริหาร
b) ทำให้มีการปรับปรุงระบบการบริหารคุณภาพ สินค้าหรือบริการให้เป็นระบบที่ดี
c) ทำให้มีการเตรียมการประเมินองค์กรได้
d) ทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริง
e) ทำให้เกิด เอกสารการประเมินในองค์กร
41. การทำงานเป็นทีมงาน (Team Work) ตรงกับข้อใด

a) สมาชิกทำงานร่วมกันสู่เป้าหมายหลักขององค์กร
b) กลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
c) ทุกคนทีมงาน ร่วมทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
d) กลุ่มบุคคล ที่ทำงานในองค์กรเดียวกัน
e) การทำงานของกลุ่มบุคคล
42. ข้อดีของความขัดแย้ง

a) เห็นตัวผู้นำในการต่อลอง
b) กระตุ้นให้มีการแข่งขันในทีม
c) ทีมงานมีการพัฒนาก้าวหน้าเร็ว
d) เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น
e) สร้างผู้นำใหม่
43. ข้อใดเป็นการสื่อสารทางขวาง

a) การสั่งการ
b) การเสนอข้อคิดเห็นจากฝ่ายปฏิบัติงาน
c) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างแผนก
d) การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
e) การสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา
44. การวางแผน หมายถึง

a) กระบวนการกำหนดการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
b) กระบวนการกำหนดเป้าหมาย เพื่อการปฏิบัติงาน
c) กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
d) การกำหนดจุดมุ่งหมาย การปฏิบัติงาน และการควบคุม
e) การกำหนดเป้าหมาย การปฏิบัติงาน และตรวจสอบ
45. ข้อใดคือการวางแผนตามหน้าที่

a) แผนไตรมาส
b) แผนปรับปรุงมาตรฐาน
c) แผนกลยุทธ์
d) แผนนโยบาย
e) แผนการผลิต
46. ประโยชน์สูงสุดของการวางแผน

a) พัฒนาการแข่งขัน
b) การประหยักงบประมาณ
c) ส่งเสริมแรงจูงใจ
d) ผลกำไรขององค์กร
e) ลดความไม่แน่นอน
47. การเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ISO 14000 องค์กรควรดำเนินการจรรยาบรรณด้านใด

a) ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
b) ความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมลงทุน
c) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
d) ความรับผิดชอบต่อบุคลากร
e) ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย
48. การเพิ่มความสามารถการแข่งขันและรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมควรใช้เทคนิคใด

a) Just in Time
b) QCC
c) TQM
d) การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
e) Reuse Reduce Recycle
49. การละเมิดจริยธรรมขององค์กรข้อใดผิดหลักกฎหมาย

a) การลอกเลียนแบบ
b) การฉวยโอกาส
c) การแข่งขัน
d) การดำเนินธุรกิจข้ามชาติ
e) กลยุทธ์
50. องค์กรควรดำเนินการเพื่อให้ถึงจุดสูงสุดด้านจรรยาบรรณตามข้อใด

a) ตรวจสอบจริยธรรม
b) สร้างวัฒนธรรม
c) ฝึกอบรม
d) กำหนดจรรยาบรรณ
e) ประกาศใช้หลักจรรยาบรรณ
This is more feedback!
This is the feedback!



Back to Top